There are no translations available.

 

อุตสาหกรรมหลัก และภาพรวมด้านการตลาดของประเทศออสเตรเลีย

          อุตสาหกรรมหลัก

          เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลียถือว่าเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกลุ่มธุรกิจที่สำคัญที่สุดคือ กลุ่มธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว กลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และ กลุ่มธุรกิจการเงิน

          1.กลุ่มธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว

          กลุ่มธุรกิจบริการถือว่ามีสัดส่วนสูงสุด คือ ร้อยละ 68 ของ GDP ภายในประเทศ ส่วนใหญ่จะเน้นไปในทักษะทางด้านไอที เทคโนโลยี และงานที่เกี่ยวข้องกัน (เช่น คอมพิวเตอร์การออกแบบระบบและวิศวกรรม) จะถูกกำหนดเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบธุรกิจในเมืองแคนเบอร์รา เมืองหลวงของประเทศออสเตรเลีย

ในส่วนของธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจของประเทศปีละมากกว่า 35,000 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียมีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอาทิเช่น เมืองชายฝั่งทะเลของซิดนีย์และเมลเบิร์น แม้ว่าจะมีความท้าทายของเศรษฐกิจโลกและภัยธรรมชาติในปี 2010-2011 แต่การเจริญเติบโตในธุรกิจการท่องเที่ยวของออสเตรเลียได้รับการสนับสนุนจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 4.4% ในช่วงปีที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นในจำนวนของผู้เข้าชมจากต่างประเทศ)

          2.กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่

ประเทศออสเตรเลียมีธุรกิจการทำเหมืองในทุกรัฐและดินแดนของประเทศ โดยแร่ส่งออกที่สำคัญของประเทศออสเตรเลียคือ ถ่านหิน พบในรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐควีนสแลนด์ โดยเฉพาะแหล่งซิดนีย์ นิวคาสเซิลและวูลลองกอง ซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย โดยส่วนมากจะส่งออกถ่านหินไปยังเอเชียตะวันออกและตลาดโลกมากกว่าร้อยละ 30 ของการส่งออกถ่านหินทั้งหมดในปี 2012 จนทำให้ออสเตรเลียได้ขึ้นชื่อว่า เป็นประเทศที่ส่งออกถ่านหินชั้นนำของโลก และยังรวมถึงแร่อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย

          3.กลุ่มธุรกิจการเงิน

          เนื่องจากในประเทศออสเตรเลียมีธนาคารที่ใหญ่ที่สุดที่เรียกภายในประเทศว่า บิ๊กโฟร์ ทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินการเงินในประเทศและมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่มีมูลค่าสูงติดอันดับโลก ในปี 2012 คือ กลุ่มธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 59 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลีย ธนาคารเครือจักรภพ 84.54 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลียธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย 52.73 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลีย และWestpac64.56 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลีย

           ภาพรวมด้านการตลาด

          ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครซิดนีย์ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในออสเตรเลียไม่ได้รับความเสียหายจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2008-2009 มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยมูลค่าการจับจ่ายต่อหัว (per Capita Consumer Expenditure) ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จาก 30,153 เหรียญสหรัฐฯในปี 2010 เป็น 34,880 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011และมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 โดยคาดว่าออสเตรเลียจะมีมูลค่าการจับจ่ายต่อหัว40,504 เหรียญสหรัฐฯโดยการขยายตัวของมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยของออสเตรเลียมาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่ารายได้ต่อหัว (GDP per Capita) 41,208 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 ขยายตัวร้อยละ 3.07 จากปี 2010 โดยพฤติกรรมผู้บริโภคที่สำคัญในปี 2011 ได้แก่

          อัตราการออมสูงสุดในรอบ 20 ปี พฤติกรรมการออมของผู้บริโภคถือเป็นอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในปี 2011 โดยอัตราการออมของผู้บริโภคร้อยละ 9.2 ซึ่งเป็นอัตราการออมสูงที่สุดในรอบ 20 ปี สาเหตุสำคัญมาจากความไม่มั่นใจในสภาวะทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของออสเตรเลีย รวมทั้งความซบเซาของอุตสาหกรรมค้าปลีกและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการภายในประเทศ และค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

          Online Shoppers ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อสินค้า online มากขึ้น โดย website ที่ผู้บริโภคซื้อส่วนใหญ่ยังเป็น website ท้องถิ่น ทำให้ร้านค้าปลีกเริ่มหันมาเพิ่มช่องทางการสั่งซื้อทาง online และปรับปรุง website

ท่องเที่ยวต่างประเทศ การแข็งค่าของดอลลาร์ออสเตรเลียส่งผลต่ออุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยวของออสเตรเลียอย่างมาก โดยทำให้ต้นทุนการท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงและบางครั้งถูกกว่าการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทำให้มีการท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวลดลง เนื่องมาจากสาเหตุเดียวกัน

สุขภาพสำคัญที่สุด ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับสุขภาพมาก ทั้งในส่วนของอาหารและการออกกำลังกาย โดยเทรนด์ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ สินค้าออร์แกนิกส์ สินค้าที่มีส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ แม้ว่าสินค้าออร์แกนิกส์จะมีราคาสูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันก็ตาม นอกจากนี้ ยังนิยมการออกกำลังกาย เช่น การสมัครเป็นสมาชิกศูนย์ออกกำลังกาย การเล่นโยคะ การวิ่งตามสวนสาธารณะ การปั่นจักรยานไปทำงาน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวสำหรับตลาดสินค้าที่เกี่ยวข้องในปี 2011

Eco-friendly อีกเทรนด์หนึ่งที่สำคัญของผู้บริโภค ได้แก่ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ eco-friendly โดยผู้บริโภคคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนมากขึ้น เช่น การใช้แก้วกาแฟ eco-friendly แทนการใช้แก้วกระดาษที่ต้องทิ้งหลังการใช้ทุกครั้ง และถุงผ้าสำหรับใส่ของแทนถุงพลาสติกเป็นต้น

          นอกจากนี้ Euromonitor International: Consumer Lifestyles in Australia (September, 2013) ได้สรุปอันดับแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคออสเตรเลีย 5 อันดับแรก ดังนี้

1.       ชาวออสเตรเลียมีแนวโน้มออมเงินมากขึ้นและใช้จ่ายน้อยลง

2.       ชาวออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะลดระยะเวลาในการเที่ยวลงเนื่องจากมีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น

3.       ผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้อของใช้ทางอินเตอร์เน็ตภายในประเทศมากขึ้น

4.       ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมความพร้อมที่จะเกษียณ

5.       ต้นทุนในการเลี้ยงดูลูกของชาวออสเตรเลียสูงขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มีการออมมากขึ้น