There are no translations available.

 

 

อุตสาหกรรมหลัก และภาพรวมด้านการตลาดของประเทศเมียนมาร์

 

          อุตสาหกรรมหลัก

 

          ประเทศเมียนมาร์มีการปิดประเทศเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองมาจนถึงปี 2011 จึงทำให้มีความมั่งคั่งจากทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงมีจำนวนมากภายในประเทศ แต่เนื่องจากประเทศเมียนมาร์ยังคงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในระดับต่ำ เน้นภาคเกษตรกรรมภายในประเทศสูงถึงร้อยละ 90 อุตสาหกรรมส่วนมากจึงยังไม่มีการเติบโต แต่ยังมีธุรกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

 

          1. กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและน้ำมัน

 

          เนื่องจากประเทศเมียนมาร์ยังมีทรัพยากรที่เหลืออยู่มากภายในประเทศ ภายหลังการเปิดประเทศจึงดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกเข้าไปลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมจากทรัพยากรที่ราคาค่อนข้างไม่สูง ทำให้ประเทศเมียนมาร์สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปอย่างรวดเร็ว โดยมีบริษัทใหญ่ในการควบคุมคือ Seadrill จากประเทศนอร์เวย์ ร่วมกับรัฐบาลและการทหารของประเทศเมียนมาร์ และมีบริษัทภายในประเทศคือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเอ็นเตอร์ไพรส์ (MOGE)

          เมียนมาร์ยังเป็นผู้ผลิตฝิ่นใหญ่เป็นอันดับสองของโลกคิดเป็น 8% ของการผลิตทั่วโลก และมีการผลิต
อัญมณีที่มีคุณภาพ อาทิ
ไพลิน ไข่มุก หยก และที่สำคัญคือเป็นแหล่งส่งออกทับทิมที่สวยงามที่สุด ถึงร้อยละ 90 ของโลกอีกด้วย

 

          2. กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว

 

          ตั้งแต่ปี 1992 รัฐบาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศจนกระทั่งในปี 2012 มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.06 ล้านคนเข้ามาเยือนประเทศและคาดว่าจะมากกว่า 1.8 ล้านคนภายในท้ายปี 2013 เมียนมาร์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายและแตกต่างกัน พร้อมสะดวกสบายจากสายการบินที่เข้าสู่ประเทศโดยตรง เนื่องด้วยความเป็นธรรมชาติของทรัพยากรที่ยังไม่ถูกทำลาย ทำให้ประเทศเมียนมาร์มีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกนั่นเอง

 

          ภาพรวมด้านการตลาด

 

          ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเมียนมาร์ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนักทำให้การตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เน้นพิจารณาจากประโยชน์ของสินค้าเป็นสำคัญและมักซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ด้านรสนิยมชาวเมียนมาร์ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านจึงมีรสนิยมค่อนข้างคล้ายคลึงกับไทย จากประเพณีวัฒนธรรมและพรมแดนที่อยู่ติดกัน ทั้งยังนิยมเลียนแบบการบริโภคสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ของไทย การบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดเมียนมาร์ยังไม่หลากหลายนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากไทยจีนและเวียดนาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังได้รับความนิยมในวงจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง และนักการเมืองเท่านั้น

 

          ประเทศเมียนมาร์ โดยเฉพาะนครย่างกุ้ง มีศูนย์การค้าสมัยใหม่เกิดขึ้นหลายแห่ง ทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้า หรือแม้กระทั้งศูนย์ค้าส่ง พฤติกรรมของชาวย่างกุ้งเริ่มมีความเป็นเมืองมากขึ้น ภายหลังการเปิดประเทศ และสินค้าสมัยใหม่ และวิถีชีวิตแบบคนเมือง เป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน