MGRออนไลน์ -- ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงสิ่งแวดล้อมกับพูชา ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองทุนสตัว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งล้อมจกกอินเดีย ได้ลงพื้นที่เป็นเวลา 5 วันในสัปดาห์นี้ (25-29 ก.ย.) เพื่อสำรวจสภาพจริง ใน จ.มณฑลคีรี (Modulkiri) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในแผนการที่จะสร้างเขตที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง ซึ่งถ้าหากทำได้สำเร็จ ก็จะเป็นแห่งแรกในย่านนี้ ที่้มีการฟื้นฟูเขตป่า สำหรับแมวยักษ์พวกนี้โดยเฉพาะ 

 
กระทรวงสิ่งแวดล้อมดำเนินการในเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน และ ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน เมื่อปลายเดือนที่แล้ว และนำมาสู่การปฏิบัติจริง
 
นายแสงเตก (Seng Teak) ผู้อำนวยการสำนักงาน WWF ประจำกรุงพนมเปญกล่าวว่า แผนการล่าสุดนี้กำลังจะนำไปสู่ การจัดตั้งเขตอนุรักษ์เสือโคร่ง ขึ้น ที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสเรปก (Sre Pok) ซึ่งมีพื้นที่ รวมทั้งผืนป่าธรรมชาติ ราว 372,971 เฮกตาร์ (กว่า 2,331,000 ไร่) กระทรวงสิ่งแวดล้0อมกัมพูชา รายงานเรื่องนี้ในเฟซบุ๊ก
 
นายมาศ สุพาล (Meas Sophal) รองอธิบดีกรมการจัดการเพื่ออนุรักษ์และคุ้มครองธรรมชาติ กระทรวงสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าข้อมูลจากการลงสำรวจสภาพความจริงในพื้นที่ จะนำไปสู่การจัดทำแผนการโดยละเอียด ในโครงการการฟื้นฟูป่าสำหรับเสือ โดยได้รับการสนับสนุนเสือ จากประเทศอินเดีย เพื่อให้สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมขชาติชนิดนี้ สามารถมีชีวิตและแพร่พันธุ์ต่อไปไดในอนาคต
 
ยังไม่ทราบในรายละเอียดว่า โครงการ "ปล่อยเสือเข้าป่า" นี้ จะต้องใช้เสือโคร่งจากประเทศอินเดีย จำนวนกี่ตัว และ เป็นเสือโคร่งชนิดใด -- โคร่งพันธุ์อินโดจีนจากการเพาะพันธุ์ที่นั่น หรือ โคร่งพันธุ์เบงกอล อันเป็นสัตว์ประจำถิ่นในชมพูทวีป รวมทั้งจำนวนหนึ่งในปืนป่า ทางตอนเหนือของพม่าด้วย
 
ตามข้อมูลของกระทรวงนี้ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ป่ากัมพูชา เคยมีเสือโคร่งพันธุ์อินโดจีนอยู่เป็นจำนวนมาก การสำรวจเมื่อปี 2550 ทีมีการใช้กล้องอัตโนมัติติดตั้งในป่า ได้พบร่องรอยของเสือเพียง 10-15 ตัว เหลืออยู่ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสเรปก และ เชื่อว่าจะไม่มีเหลืออยู่ในผืนป่าแห่งอื่นๆ ของกัมพูชาอีก ทำให้ WWF ได้บรรจุเสือเข้าในบัญชีสัตว์ป่าชนิดที่ "สูญพันธุ์โดยปริยาย" ในกัมพูชา
 
ระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา เกี่ยวกับการอนุรุรักษ์และคุ้มครองธรรมชาติ ที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. นรม.กัมพูชาได้ประกาศ ให้การสนับสนุนแผนการ ฟื้นคืนป่าให้แก่เสือ และ จัดสร้างเขตอนุรักษ์พันธุ์เสือขึ้นในประเทศ ตามรายงานก่อนหน้านี้ แผนการดังกล่าวจะใช้งบประมาณ ระหว่าง 15-50 ล้านดอลลาร์ ท่ามกลางความห่วงใยในหลากหลายปัญหา รวมทั้งชนิดของเสือจากอินเดีย ที่จะนำไปปล่อยในป่ากัมพูชา อันเป็นถิ่นที่อยู่ของเสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน ในขณะที่เสือจากอินเดีย จะเป็นเสือโคร่งพันธุ์เบงกอล ที่มีความแตกต่างกันหลายประการโดยพื้นฐาน
 
นอกจากนั้นหลายฝ่ายยังห่วงใยเกี่ยวกับอนาคตของเสือหลังการปล่อยสู่ผืนป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังคน ที่จะต้องคอยสอดส่องดูแล ป้องกันการลักลอบล่าโดยพรานป่าในระยะยาวข้างหน้า
 
ปัจจุบันยังเหลือเสือโคร่งอินโดจีนในผืนป่าธรรมชาติเพียงไม่กี่สิบตัว ทั้งในกัมพูชา เวียดนาม ลาว การลักลอบล่าเพื่อนำหนัง กับชิ้นส่วนส่งขายสนองความต้องการให้แก่ตลาดยาแผนโบราณ ที่มีจีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุด รวมทั้งการบุกรุกถิ่นอาศัย เพื่อนำผืนป่าไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจกับการพาณิชย์ และ การขาดอาหารในแหล่งธรรมชาติ ทำให้ประชากรเสือโคร่งอินโดจีนลดลงอย่างรวดเร็ว
 
ไม่เฉพาะเสือโคร่งอินโดจีนเท่านั้น ที่ต้องเจอกับภัยคุกคามจากมนุษย์ เสื่อโคร่งพันธุ์อื่นๆ ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน ข้อมูลขององค์การอนุรักษ์ธรรมชาติเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า ในปัจจุบันยังมีเสือโคร่ง เหลืออยู่ในผืนป่าธรรมชาติทั่วโลกไม่เกิน 3,000 ตัว
 
กัมพูชาได้ชื่อว่ามีผืนป่าที่สมบูรณ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ข้อมูลของกระทรวงสิ่งแวดล้อมระบุว่า ปัจจุบันทั่วประเทศมีเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า กับพืชพรรณ รวม 46 เขต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับในเขตเขาคาร์ดามอม ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ติดชายเขตแดนไทย รวมกันเป็นเนื้อที่ประมาณ 7.4 ล้านเฮกตาร์ (กว่า 46,250,000 ไร่) คิดเป็นประมาณ 41% ของเนื้อที่ทั้งหมดทั่วประเทศ
 
ป่าสเรปกเป็นผืนป่าที่อุดมด้วยชีวนานาพันธุ์ขนาดใหญ่โต มีพื้นที่ไปเชื่อมกับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าพนมพริก (Phnom Prich) ใน อ.ลมพัด (Lumphat) จังหวัดเดียวกัน.
 
 
ที่มา https://mgronline.com
 
News image

ชาวนาพม่ายุคใหม่เปิดประตูสู่ดิจิตอลสู้ศัตรูพืชผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน

News image

เอกอัครราชทูต สปป.ลาวประจำประเทศไทยหารือลู่ทางการค้ากับพ่อเมืองมุกดาหาร

News image

ตลาดเมืองใหม่ช่องสะงำสุดคึกคัก ชาวกัมพูชาแห่ข้ามแดนซื้อสินค้า

News image

“ฮุนเซน” วางแผนสร้างสนามบินนานาชาติเพิ่ม 2 แห่งรองรับนักท่องเที่ยว

News image

กองทัพเมียนมายอมรับทหารพัวพันการสังหารโรฮิงญา

News image

องค์กรสิ่งแวดล้อมชี้แผนผุดเขื่อนในจีนกระทบปลายน้ำโขง ชาวบ้านโอดปลาลดทุกปี

News image

เวียดนามตั้งศูนย์บัญชาการไซเบอร์สเปซ ปกป้องอธิปไตยชาติ

News image

กลุ่มก่อความไม่สงบในพม่าบอกไร้ทางเลือกจำเป็นต้องจับอาวุธสู้ปกป้องโรฮิงญา

News image

“ฮุนเซน” ยึดเก้าอี้แน่นบอกขออยู่ต่ออีกอย่างน้อย 10 ปี

News image

อินเดียให้พม่า $25 ล้าน พัฒนารัฐยะไข่รับผู้ลี้ภัยโรฮิงญากลับประเทศ

News image

ตึกแฝด “แคนลาว” ผุดกลางแม่โขง ศิวิไลซ์หรือหายนะ?

News image

ฮิวแมนไรท์เผยพม่ายังเผาหมู่บ้านโรฮิงญาไม่หยุดแม้ลงนามส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ

News image

เวียดนามปรับโรงงานเหล็กไต้หวันรอบ 2 แอบฝังกลบของเสียอันตราย

News image

พม่าไฟเขียวผุดโรงแรมหรูบนอาคารสำนักงานใหญ่รถไฟย่างกุ้ง

News image

ไฟไหม้อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ลาวเสียหาย ยังไม่ทราบสาเหตุ

News image

เวียงจันทน์กวาดขอทานอีก 300 ยอมรับแก้ไม่ตก ไล่จับมา 10 ปีเดี๋ยวนี้ยังจับ

News image

โป๊ปฟรานซิสเลี่ยงใช้คำโรฮิงญาสร้างความขัดแย้ง ร้องพม่าเคารพสิทธิมนุษยชนเพื่อสันติภาพ

News image

พม่า-บังกลาเทศตกลงให้ UNHCR ช่วยเหลือส่งกลับผู้ลี้ภัย

News image

รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ประณามพม่า “กวาดล้างชาติพันธุ์” โรฮิงญา

News image

เวียดนามปรับเพิ่มเป้าหมายส่งออกข้าวปีนี้เป็น 5.6 ล้านตัน หลังได้สัญญาซื้อขายเพิ่ม

News image

ศาลกัมพูชาตัดสินยุบพรรคฝ่ายค้าน

News image

“ทรัมป์” คุยผู้นำเวียดนามเสนอไกล่เกลี่ยข้อพิพาททะเลจีนใต้

News image

ยอดดับจากอิทธิพลไต้ฝุ่นดอมเรยในเวียดนามยังเพิ่มไม่หยุด อ่างเก็บน้ำหลายแห่งใกล้ล้น

News image

'อาเซอร์ไบจาน - ตุรกี - จอร์เจีย' เปิดรางรถไฟสายไหมยุคใหม่ เชื่อมยุโรปกับจีน

News image

วิกฤติโรฮิงญารัฐยะไข่กระทบท่องเที่ยวพม่าต่างชาติวิตกความปลอดภัย

News image

​กัมพูชาเตรียมเก็บค่าถุงพลาสติกเวลาซื้อของ

News image

กลุ่ม CITIC ยักษ์ใหญ่จีนยอมลดหุ้นท่าเรือยุทธศาสตร์ยะไข่ในพม่า หลังเจอกระแสผวาอิทธิพลปักกิ่ง

News image

ปลาหมอยักษ์หนัก 105 กก.จากทะเลอ่าวไทย บินไปร้านอาหารเปิบพิสดารในฮานอย

News image

ยอดดับน้ำท่วม-ดินถล่มในเวียดนามจากอิทธิพลดีเปรสชันเพิ่มเป็น 68 ราย

News image

ศาลอินเดียสั่งห้ามมีเซ็กส์กับภรรยาอายุต่ำกว่า 18 ปี

News image

ชาวพม่าต่างศาสนาหลายหมื่นชุมนุมหนุนรัฐบาลซูจีแก้วิกฤตในยะไข่

News image

ไทยนำโด่งเข้าชมเจดีย์ชเวดากองพม่า 9 เดือนแรกของปี 60

News image

ไทยและสหรัฐฯยืนยันในความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกมิติ

News image

ฝ่ายค้านเขมรร้องต่างชาติคว่ำบาตร-ระงับความช่วยเหลือรัฐบาลฮุนเซน

News image

"หม้อไฟใหญ่" ใกล้จริง ลาวเซ็นสัญญา 3 ฝ่ายส่งไฟฟ้าผ่านไทยขายมาเลเซียปีหน้า

News image

ต่างชาติวิเคราะห์โครงการลงทุนขนาดยักษ์รัฐยะไข่ อาจอยู่เบื้องหลังท่าทีจีนหนุนพม่าปราบโรฮิงญา

News image

เขมรกางแผนฟื้นป่าสำหรับเสือ นำลายพาดกลอนจากอินเดียปล่อยเขตอนุรักษ์ฯ มณฑลคีรี

News image

6 เดือนดีเลย์ 14,000 เที่ยวบิน เวียดนามเอือมออกกฎ 2 ชั่วโมงต้องแจกน้ำ 3 ชั่วโมงอาหาร 6 ชั่วโมงโรงแรม

News image

ขับรถจากไทยไปด่าหนัง-เวียดนามง่ายขึ้น กำลังจะมีสะพานแห่งใหม่เชื่อมอนุภูมิภาค

News image

‘ซูจี’ไม่หวั่นถูกประชาคมโลกตรวจสอบ